วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ระบบ AS/RS

 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ  การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ
ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
- Unit Load AS/RS
- Miniload AS/RS
- Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS
- Automated Item Retrieval System
- Deep-Lane AS/RS

         องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
1.      โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
2.      เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
3.      หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
4.      สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)
อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
1.      รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
2.      อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
3.      สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
4.      สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)

การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.      จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
2.      หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
3.      ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ

การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
1.      ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
2.      สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
3.      ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
4.      สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
5.      ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ

6.      สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน

วัตถุประสงค์ของระบบการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ AS/RS       
  1. เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการคลังสินค้า โดยทำให้เกิดการจัดเก็บหรือนำผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในด้านความรวดเร็ว ความถูกต้อง การลดจำนวนพนักงาน
       2. เพื่อให้มีข้อมูล ณ เวลาปัจจุบัน (Real time) สามารถนำไปใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการคิดต้นทุน และงานด้านบัญชีภายในโรงงาน ทั้งนี้เนื่องมาจากการเก็บสินค้า และการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ถ้าถูกติดตามในรูปแบบอิเล็คทรอนิคส์จะช่วยให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็ว

       2. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมจัดการวัสดุและสินค้าคงคลัง
       ระบบการติดต่อสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการคลังสินค้าการดำเนินกิจกรรมแบบดั้งเดิมคือ การใช้คน เครื่องมือและอุปกรณ์ยกขนง่าย ๆ รวมทั้งการใช้ Stock card เพื่อควบคุมการนำเข้าเก็บ และเบิกผลิตภัณฑ์ออกจากสถานที่จัดเก็บ มักจะเกิดความผิดพลาดมาก ใช้ระยะเวลาในการทำงานและพนักงานมาก เกิดปัญหาความผิดพลาดในตัวผลิตภัณฑ์มากมาย ต้นทุนไม่สามารถควบคุมได้อย่างทั่วถึงเมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการคลังสินค้าสามารถช่วยลดความผิดพลาดดังกล่าวข้างต้นได้ปัจจุบันเกือบทุกคลังสินค้าได้มีการนำการติดต่อสื่อสารโดยใช้การเชื่อมต่อข้อมูลออนไลน์ด้วยระบบอินเตอร์เน็ต กับคู่ค้า การใช้เทคโนโลยีในการจัดการคลังสินค้า มักจะประกอบด้วย


       2.1 ฮาร์ดแวร์สำหรับการจัดการคลังสินค้า ฮาร์ดแวร์ทำหน้าที่เชื่อมต่อเพื่อสื่อสารในระบบทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยี Barcode, RFID การทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ จะต้องเชื่อมต่อกับ ซอฟต์แวร์ ของแต่ละคลังสินค้าที่ออกแบบมาอย่างสอดคล้องกับการจัดการคลังสินค้าแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นการทำรายการ (Transactions) การรับสินค้า (Receiving) การจัดเก็บ (Storage) การขนย้ายสินค้าออก (Put Away) รวมทั้งการหยิบสินค้าตามคำสั่ง (Picking Order) และการจัดส่ง (Shipping)
   ระบบการจัดเก็บสินค้าและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ Automated Storage/Retrieval System (AS/RS)
คือ ระบบบริหาร การจัดเก็บสินค้า เก็บวัตถุอัตโนมัติ เหมาะกับบริษัทที่ต้องการลดการใช้งานพื้นที่ หรือต้องการเพิ่ม ปริมาณในการจัดเก็บมากขึ้น เช่น คลังสินค้า, โกดังสินค้า, อาคารจอดรถอัตโนมัต, ห้องเก็บสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น
ระบบ ASRS จะมีการทำงานควบคู่อัตโนมัติอย่างเป็นระบบอยู่ 2 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ใช้เทคโนโลยีโรบอทอัตโนมัติ 
กับซอร์ฟแวร์ที่ สามารถพัฒนา นำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่
ประโยชน์ที่จะได้รับลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า, ลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้า, เพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้า, ทำงานรวดเร็ว แม่นยำ, บริหารทรัพยากรบุคคล, ประหยัดพลังงานไฟฟ้า



วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ


รถ AGV ในงานอุตสาหกรรม
       AGV  คือรถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
           รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที
รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV

ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ







          สายพานลำเลียง คืออะไร ?


          สายพานลำเลียง (Conveyor Belt System) คือ ระบบลำเลียงเคลื่อย้ายอุปกรณ์ ชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์หรือลำเลียงกระสอบจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้สายพานลำเลียง (Belt) และมอเตอร์เกียร์เป็นตัวขับเคลื่อนสายพานลำเลียงกระสอบ หลังจากผ่านกระบวนต่าง ๆ ของทางโรงงานเรียบร้อยแล้วแลต้องการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ไปที่ต้องการ ดังนั้นระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่



หุ่นยนต์ทำความสะอาด





"วิศวะ ม.อ." จัดการขยะบนชายหาดด้วย "หุ่นยนต์เก็บขยะ" พบขวดเป็นร้อย


             ปตท.สผ.สนับสนุน 2 ล้านบาทให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พัฒนา หุ่นยนต์เก็บขยะชายหาดนำร่องใช้ประโยชน์จริงที่ชายหาดสมิหลา 9 กิโลเมตร ลดใช้แรงงานคนเดินเก็บเหลือเพียง 1 ใน 4 แถมยังเก็บขยะที่มีขนาดเล็กฝังตัวในทรายอย่างก้นบุหรี่ได้ด้วย
    นอกจากจะตอบโจทย์ด้านความสะอาดและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยแบตเตอรี่ไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นต้นแบบโมเดลความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา หน่วยงานท้องถิ่นและภาคธุรกิจเอกชน ควบคู่กับการพัฒนาทักษะนักศึกษาให้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง

    แก้ปัญหาขยะเกลื่อนหาด

            หาดสมิหลาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญใน จ.สงขลา สัญลักษณ์ที่โดดเด่นคือหาดทราย โขดหินยื่นลงทะเลและรูปปั้นนางเงือกทอง กำลังเผชิญปัญหาเศษขยะไม่ต่างจากชายหาดอื่นๆ จึงเป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนา หุ่นยนต์ทำความสะอาดชายหาดทำหน้าที่เก็บขยะเพื่อนำไปแยกรีไซเคิลหรือทำลายอย่างถูกวิธี
    นายพฤทธิกร สมิตไมตรี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า หุ่นยนต์หน้าตาคล้ายรถถังไซส์มินิ ควบคุมด้วยรีโมท สามารถจัดการขยะที่อยู่บนทรายหรือฝังตัวอยู่ในทราย โดยใช้ระบบตักผิวทรายที่มีเศษขยะและใช้ตะแกรงร่อนแยกเม็ดทรายออกจากเศษขยะได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานสะอาด และติดตั้งแผงกักเก็บเสียง เหมาะรนำมาใช้ในแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญสามารถผลิตได้ในประเทศ
    สำหรับเวอร์ชันถัดไปจะพัฒนาแบตเตอรี่ให้ทำงานได้มากกว่า 2 ชั่วโมง เก็บขยะชิ้นใหญ่ขึ้น การสั่นเพื่อร่อนเศษขยะเร็วขึ้น สามารถแยกขยะทั้งแยกชิ้นที่มีขนาดเท่ากันไปอยู่ที่เดียวกัน หรือแยกของที่เป็นโลหะกับไม่เป็นโลหะ หรือว่าเปลือกหอยกับเศษขยะ สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น ลงไปเนื้อทรายได้ลึกขึ้น จากปัจจุบันลงลึกได้ 5 เซนติเมตร เป็นต้น
    ด้านนายสมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา กล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาขยะจากนักท่องเที่ยวสามารถบริหารจัดการได้ แต่ขยะที่พัดมาจากทะเลดูแลลำบากเพราะมีปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็น ขอนไม้ เศษพลาสติก ผักตบชวา ต้องใช้พนักงาน 200 คนทำความสะอาด หากมีหุ่นยนต์มาช่วยจะทุ่นแรงงาน ประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ เช่น ใช้พนักงานเก็บขยะชายหาดแค่ 50 คนพร้อมมีหุ่นยนต์เป็นผู้ช่วย
    ก่อนหน้านี้ได้ซื้อรถเก็บกวาดขยะชายหาดมูลค่า 7 ล้านบาทจากต่างประเทศเข้ามาช่วยเก็บขยะชิ้นใหญ่ แต่ข้อเสียคือต้องใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน มีเสียงและกลิ่นควันรบกวน ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หุ่นยนต์ตัวนี้จึงเป็นตัวช่วยทำความสะอาดหาด ที่ตอบโจทย์การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเก็บขยะที่มีขนาดเล็ก เช่น ก้นบุหรี่ เหมาะเข้ามาช่วยในการทำความสะอาดแทนคน แต่ในอนาคตอยากให้หุ่นยนต์มีขนาดใหญ่ขึ้น และสามารถเกลี่ยปรับหน้าดินและทรายให้เรียบขึ้นด้วย

    โมเดลการเรียนรู้ร่วม 3 ภาคี

           นายวินิตย์ หาญสมุทร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารเทคโนโลยีและองค์ความรู้ ปตท.สผ. กล่าวว่า แนวคิดของบริษัทในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาพื้นที่ในชุมชนนั้น เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรในพื้นที่เรียนรู้การทำงานไปพร้อมกัน โดยให้มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานของรัฐเข้ามามีส่วนร่วม นอกจากจะได้นวัตกรรมและความร่วมมือแล้ว ยังเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ถือเป็นโมเดลที่เป็นประโยชน์กับสังคมมากกว่าการนำเข้าเทคโนโลยีสำเร็จรูป ขณะเดียวกัน ปตท.สผ.ยังจัดส่งบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญหุ่นยนต์ เข้ามาช่วยเป็นพี่เลี้ยง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับนักวิจัยเพื่อพัฒนาและปรับปรุงจนได้หุ่นยนต์ต้นแบบที่พร้อมใช้งานจริง

    จากเดิมที่มีแนวคิดว่าจะทำหุ่นยนต์เก็บขยะขนาดใหญ่ แต่ก็มองว่า เทอะทะ เปลืองพลังงาน จึงแนะนำให้ใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยมุมมองด้านธุรกิจเข้ามาให้คำปรึกษาถึงความเป็นไปได้ในการใช้งานและเทรนด์ของเทคโนโลยีที่เข้ามาทดแทนการใช้พลังงานแบบเดิม เป็นต้น

    หุ่นยนต์นี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างเทคโนโลยีสีเขียวและเป็นต้นแบบที่น่าพอใจถือว่าประสบความสำเร็จและคุ้มค่า เพราะนอกจากจะได้ชิ้นงานที่ใช้ประโยชน์ได้จริงแล้ว ก็ยังเกิดต้นแบบความร่วมมือระหว่างเอกชน ราชการ และเทศบาลในพื้นที่ ตลอดจนทำให้สถาบันการศึกษาได้มาคลุกคลีกับชาวบ้านในพื้นที่อีกด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หุ่นยนต์" ทำความสะอาดชายหาด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หุ่นยนต์" ทำความสะอาดชายหาด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หุ่นยนต์" ทำความสะอาดชายหาด